เกี่ยวกับ
.ข้อมูลทั่วไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุญศิริ ตำบลบางเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
สถานีอนามัยบุญศิริ
เดิมชื่อศูนย์สุขภาพชุมชนบุญศิริ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๕/๒๒๙-๒๓๐ หมู่ ๓ ในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นอาคารพานิช ๒ คูหา ๓ ชั้น
เดิมมีพื้นที่รับผิดชอบ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑ และหมู่
๓ ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเคยเป็นเขตพื้นที่รับผิชอบของ
สถานีอนามัยตำบลบางเมือง
เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึงตามโครงการหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า และต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๒
ได้มีการจัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบใหม่อีกครั้ง ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนบุญศิริ
ได้รับผิดชอบเขตเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๗ ตำบลบางเมืองใหม่
ต่อมาได้มีการประเมินและพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ( HCA ) ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนชื่อ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุญศิริ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔
และได้ย้ายที่ทำการใหม่เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔ ห่างจากที่ทำการเก่า ๓๐๐ เมตร ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ๒ ชั้น ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๕๐/๗๓ หมู่ที่ ๓
ในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง และ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้รับงบ ประมาณในการซื้ออาคาร 2 ชั้น 3 คูหา มาอยู่ที่ 96/64
ม.3 ต.บางเมือง ชุมชนกลาง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุญศิริมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๒ ตำบล
คือ ตำบลบางเมือง และตำบลบางเมืองใหม่
ซึ่งตำบลบางเมืองมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๒ หมู่บ้าน โดยมี
น.ส.ขวัญเรือน นาคทิม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓
ตำบลบางเมือง นายวิชิต ทองมี
เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลบางเมือง
และนายธนพล กุลเจริญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๗ ตำบลบางเมืองใหม่
(รูปเจ้าหน้าที่)
สภาพทั่วไปของหน่วยงาน
แผนที่
ที่ตั้งและขนาดพื้นที่
ที่ตั้ง
๙๖/๖๔ หมู่ที่ ๓ ซอย บุญศิริ ๑๕ ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุปราการ
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ที่ ๔ ,หมู่ที่ ๖
ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันออก ติดต่อ
หมู่ที่ ๖ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันตก ติดต่อ
ตำบล ปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
สภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย มี ลำคลอง
ไหลผ่าน ๑ สาย คือ และคลองมหาวงษ์ ไม่มีปัญหาจากการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นอากาศแบบชายทะเล
โดยมีอากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน มีความชื้นในอากาศสูง
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมทะเลของอ่าวไทยและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
แต่ยังพบลักษณะของปริมาณฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม
ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำทำให้เกิดการก่อตัวของพายุใต้ฝุ่น
และพายุโซนร้อนในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ ๑,๑๗๕.๑๒ มิลลิเมตร เฉลี่ยฝนตกต่อปี
๓๗ วัน เดือนตุลาคมเป็นเดือนซึ่งมีน้ำฝนมากที่สุด
และเดือนธันวาคมเป็นเดือนซึ่งมีปริมาณฝนน้อยที่สุด
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย/คน/ปี ตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕๑ จำนวน
๓๒,๖๘๐
บาท/คน/ปี
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ ๘๓.๔๗
วิสัยทัศน์
“ประชาชนเป็นศูนย์กลาง บริการเป็นเลิศ
เกิดนวัตกรรม น้อมนำนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ”
พันธกิจ
เสริมสร้างทีมสุขภาพให้มีจิตในบริการที่ดี
ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล
พัฒนาระบบการบริหารจัดการ วิชาการ
และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
พัฒนาทีมสุขภาพ
ภาคีเครือข่าย ให้มีขีดความสามารถในการจัดการระบบสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่าเข้มแข็ง
ค่านิยมร่วมในองค์กร
CARE Capadle มีความสามารถ Accessidle เข้าถึงได้
Responsive ตอบสนอง Emputhy อารมณ์ร่วม
หมู่บ้านที่รับผิดชอบ
หมู่
|
ตำบล
|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อบต./เทศบาล)
|
|
๑
|
บางเมือง
|
เทศบาลตำบลบางเมือง
|
|
๓
|
บางเมือง
|
เทศบาลตำบลบางเมือง
|
|
๗
|
บางเมืองใหม่
|
เทศบาลตำบลบางเมือง
|
ข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียน / ศูนย์เด็กเล็ก
|
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางเมือง
หมู่ที่ ๑ ตำบลบางเมือง
๒. สถานรับเลี้ยงเด็กบ้านเด็กเล็ก
หมู่ที่ ๓ ตำบลบางเมือง
๓. โรงเรียนอนุบาลจิตอาทร
หมู่ที่ ๓ ตำบลบางเมือง
|
การวิเคราะห์ Swot
S : จุดแข็ง
๑. การบริหารที่ดีมีประสิทธิภาพ
๒. ระบบบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน PCA
๓. บุคลากรมีความซื่อสัตย์
สามัคคี
๔. มีงบประมาณที่เพียงพอต่อการบริการจัดการ
|
W : จุดอ่อน
๑. บุคลากรที่ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น ต่องานที่ได้รับผิดชอบ
๒. บุคลากรขาดความรู้ ทักษะ เฉพาะด้าน IT
๓. สภาพภูมิทัศน์สถาบปัตต่อการพัฒนา
๔. บุคลากรบางคนจบไม่ตรงสายงาน
๕. การวางแผนปฏิบัติงานยังขาดการติดตาม ประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง
|
O : โอกาส
๑. Cup Board สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เทศบาลตำบลบางเมือง คณะกรรมการบริหารงานสถานีอนามัยฯ
ให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน
๒. ผู้นำชุมชน
อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชน
ให้ความร่วมมือในการทำงาน
๓. การคมนาคมสะดวก
๔. ได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น ในการทำงาน
|
T : อุปสรรค
๑. ประชาชนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือต่อเจ้าหน้าที่ในการทำงาน
๒. ประชาชนบางส่วนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์กร
๓. ประชาชนส่วนใหญ่ทำงานในวันทำการปกติ
ทำให้ไม่ตรงกับเวลาปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
๔.ประชาชนขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ
และเห็นว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรภาครัฐ
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น